วิธีเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง จะเก็บจากท่อระบายน้ำทิ้งหรือบ่อพักน้ำทิ้ง
แบบจ้วง 1 ครั้ง (Grab Sampling) โดยการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งแต่ละจุดจะเลือกใช้อุปกรณ์ตามความเหมาะสม คือ กรณีที่จุดเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งเป็นท่อระบายอย่างต่อเนื่องจะใช้ภาชนะบรรจุตัวอย่างน้ำรองจากปลายท่อโดยตรงหรือใช้ Stainless Sampler รองจากปลายท่อ และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากปลายท่อระบายน้ำทิ้งได้ จะเก็บตัวอย่างจากบ่อพักน้ำทิ้ง (Effluent Sump) ก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ โดยแยกเก็บตัวอย่างน้ำที่จะวิเคราะห์น้ำมันและไขมัน (Oil & grease) ที่ระดับผิวน้ำก่อนจากนั้นใช้ Stainless Sampler หรือ Glass Sampler จ้วงเก็บตัวอย่างน้ำจากกึ่งกลางบ่อพัก
ก่อนดำเนินการเก็บตัวอย่างทุกครั้งเจ้าหน้าที่จะสวมถุงมือสะอาดชนิดไม่มีแป้ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนขณะเก็บตัวอย่าง ขณะเก็บตัวอย่างจะบันทึกลักษณะตัวอย่างน้ำทิ้ง และสภาพจุดเก็บตัวอย่างทุกจุด พร้อมวัดค่าความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิ ข้อมูลสภาพตัวอย่างที่บันทึกลงใน Log Book ได้แก่ สี และกลิ่น ของน้ำลักษณะตะกอนที่สังเกตเห็นและสภาพทั่วไปของจุดที่เก็บตัวอย่าง บันทึกข้อมูล วันเวลาที่เก็บ วิธีการเก็บ ผู้เก็บ และ สภาพภาชนะบรรจุตัวอย่างขณะเก็บ ระบุรายละเอียดตัวอย่างและดัชนีที่ต้องการวิเคราะห์ลงในใบกำกับตัวอย่าง (Chain of Custody)
เพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์พร้อมกับตัวอย่างน้ำภายในระยะเวลาเก็บรักษาตัวอย่างน้ำ
วิธีรักษาตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
วิธีการรักษาสภาพตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานประกอบการประเภทสถานประกอบการประเภทสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง APHA, AWWA and WEF, 22nd Edition, 2012. ร่วมกันกำหนดไว้ ดังรายละเอียดในตารางที่ 2-9 แช่ตัวอย่างทั้งหมดในกล่องน้ำแข็งที่อุณหภูมิ > 00C, < 60C พร้อมส่งไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ของบริษัทฯ ภายใน 24-48 ชั่วโมง
วิธีวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
วิธีการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ดำเนินการตามวิธีมาตรฐานใน Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง APHA, AWWA and WEF, 22nd Edition, 2012. ร่วมกันกำหนดไว้
ตารางแสดงภาชนะบรรจุ วิธีการรักษา และวิธีตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
การควบคุมคุณภาพในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากสถานีน้ำมันเชื้อเพลิง
การควบคุมคุณภาพในการเก็บตัวอย่าง และวิธีตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ได้ดำเนินการตามมาตรฐาน
การประกันและควบคุมคุณภาพ (Quality Assurance and Quality Control หรือ QA/QC) ของห้องปฏิบัติการ
โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้
-
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการล้างภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง ซึ่งเป็นขั้นตอนแรก
ที่ห้องปฏิบัติการต้องดำเนินการ
- ขั้นตอนที่ 2 เป็นการเตรียมภาชนะบรรจุตัวอย่าง โดยเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างน้ำต้องเตรียมภาชนะบรรจุ
ที่มีการติดฉลากบอกรายละเอียด ได้แก่ จุดเก็บ วันที่เก็บ ชื่อผู้เก็บ ดัชนีที่วิเคราะห์ รหัสโครงการ ชนิดตัวอย่าง และวิธีรักษาสภาพตัวอย่าง พร้อมทั้งตรวจสอบจำนวนภาชนะบรรจุต่อจุดเก็บ และบันทึกลงในแบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม
(Log Sheet) ก่อนทำการเก็บตัวอย่างน้ำ
- ขั้นตอนที่ 3 เป็นการควบคุมการปนเปื้อนขณะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำ โดยเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างน้ำต้อง
สวมถุงมือชนิดไม่มีแป้ง เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากการหยิบจับภาชนะบรรจุ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ในการเก็บตัวอย่าง รวมถึงป้องกันการปนเปื้อนจากมือสู่ตัวอย่างน้ำ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เปลี่ยนถุงมือทุกครั้งที่เปลี่ยนจุดเก็บตัวอย่าง และล้างอุปกรณ์ ภาชนะบรรจุตัวอย่างด้วยน้ำตัวอย่างทุกครั้งก่อนทำการเก็บตัวอย่างน้ำ ยกเว้น ภาชนะบรรจุตัวอย่างสำหรับวิเคราะห์ด้านน้ำมันและไขมัน
- ขั้นตอนที่ 4เป็นการควบคุมคุณภาพด้วยตัวอย่าง Blanks ต่างๆ ได้แก่ Trip Blank คือ การตรวจสอบ
การปนเปื้อนของภาชนะบรรจุ และการขนส่งตัวอย่าง Field Blank คือ การตรวจสอบการปนเปื้อนจากสภาพแวดล้อมขณะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำ และการตรวจสอบการปนเปื้อนจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ
ส่งตัวอย่าง Blanks ทั้งหมด ไปวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง
คอนซัลแตนท์ จำกัด ภายใน 24-48 ชั่วโมง พร้อมกับตัวอย่างน้ำที่เก็บทั้งหมด
- ขั้นตอนที่ 5เป็นการควบคุมด้านระบบเอกสารในภาคสนาม ได้แก่ การปิดฉลากระบุรายละเอียดตัวอย่าง การบันทึกข้อมูล วันเวลาที่เก็บ วิธีการเก็บ ผู้เก็บ และสภาพภาชนะบรรจุตัวอย่างหลังเก็บลงในใบกำกับตัวอย่าง พร้อมทั้งบันทึกค่าอุณหภูมิ ความเป็นกรดและด่าง และสภาพตัวอย่างน้ำที่สังเกตพบ เช่น สี และกลิ่น เป็นต้น รวมถึง ข้อมูลอื่นๆ ที่ใช้ประกอบในการจัดทำรายงาน ลงในแบบบันทึกข้อมูลภาคสนาม ซึ่งต้องนำส่งห้องปฏิบัติการวิเคราะห์พร้อมกับตัวอย่าง
สำหรับการควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างนั้น ได้ดำเนินการตามระบบมาตรฐานของ Quality Control in the Laboratory สำหรับทุกดัชนีทุกขั้นตอน