3) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide)
การตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศได้ดำเนินการโดยการใช้เครื่องวิเคราะห์ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศระบบ Non-dispersive Infrared หรือ NDIR ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยเครื่องวิเคราะห์นี้ได้ติดตั้งไว้ในสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่
ซึ่งเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องวิเคราะห์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในธรรมชาติ เครื่องวิเคราะห์ดังกล่าวได้ถูกตรวจสอบแล้ว จึงสามารถนำเครื่องออกไปปฏิบัติงานได้ โดยขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
- เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องวิเคราะห์แล้วจึงเริ่ม Warm up เครื่องวิเคราะห์ระหว่าง 1-2 ชั่วโมง ตรวจสอบ Condition ของเครื่องแล้วจึงเริ่มทำการปรับเทียบ
- ทำการปรับเทียบโดยปรับค่าศูนย์จากการวิเคราะห์ Nitrogen Gas (CO Free) ที่บรรจุในถัง แล้วปรับเทียบ Span จากการป้อน Certified Standard Carbon Monoxide Gas (N2 Balanced) ให้แก่ เครื่องวิเคราะห์ โดยให้ค่า Span อยู่ที่ 80-85% ของช่วงการตรวจวัด (80-85% of full scale)
- ทำการตรวจวัดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศจากถุงเก็บตัวอย่าง
- การเก็บตัวอย่างได้ใช้ถุง Tedlar Sampling Bag โดยกำหนดให้สูบอากาศด้วยอัตราที่เหมาะสมกับความจุของถุงเข้าถุงเก็บตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง 8 ชั่วโมง
- นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศ โดยการฉีดเข้าเครื่องวิเคราะห์ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ในบรรยากาศ ยี่ห้อ Lear Siegler รุ่น ML 9830 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย Monitor Lab Ltd. แล้วจึงบันทึกข้อมูลเพื่อรายงานผล
4) ก๊าซโอโซน (Ozone หรือ O3)
การตรวจวัดปริมาณก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะดำเนินการโดยใช้เครื่องวิเคราะห์ก๊าซโอโซนในบรรยากาศระบบ Chemiluminescence ซึ่งเป็นวิธีการที่เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือวิธี UV Absorption ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาประกาศให้เป็นวิธีการมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษโดยเครื่องวิเคราะห์นี้ได้ติดตั้งไว้ในสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศเคลื่อนที่สถานีที่ 1 ซึ่งเป็นห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องวิเคราะห์ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในธรรมชาติ เครื่องวิเคราะห์ดังกล่าวได้ถูกตรวจสอบแล้ว จึงสามารถนำเครื่องออกไปปฏิบัติงานได้ โดยขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญมีดังนี้
- มื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องวิเคราะห์แล้วจึงเริ่ม Warm Up เครื่องวิเคราะห์ระหว่าง 1-2 ชั่วโมง ตรวจสอบ Condition ของเครื่องแล้วจึงเริ่มทำการปรับเทียบ
- ทำการปรับเทียบโดยปรับค่าศูนย์จากการวิเคราะห์ Zero Gas (Ozone Free) ที่เป็นอุปกรณ์ภายในเครื่อง แล้วปรับเทียบ Span จากการป้อน Ozone Gas จาก Ozone Generator ให้แก่เครื่องวิเคราะห์ โดยจะต้องให้ค่า Span อยู่ที่ 80-85% ของช่วงการตรวจวัด (80-85% of Full Scale)
- นำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาปริมาณก๊าซโอโซนโดยการฉีดเข้าเครื่องวิเคราะห์ก๊าซโอโซนในบรรยากาศ ยี่ห้อ Monitor Labs รุ่น 9810B ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วจึงบันทึกข้อมูลเพื่อรายงานผล
5) ความเร็วและทิศทางลม (Wind Speed and Wind Direction)
บันทึกข้อมูลความเร็วและทิศทางลมขณะทำการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป โดยใช้เครื่องติดตามตรวจสอบความเร็วและทิศทางลมชนิด Cup Anemometer และ Wind Vane ยี่ห้อ MetOne รุ่น 034A, 034B ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ผลิตโดย MetOne Instrument Inc. ที่ส่งสัญญาณเข้ากับระบบ Data Logger ตลอดการติดตามตรวจสอบและสามารถแปรผลการติดตามตรวจสอบในรูปของ Wind Rose
วิธีการติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไป
การติดตามตรวจสอบระดับเสียงโดยทั่วไปได้ดำเนินการตามข้อกำหนดในประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 27ง ลงวันที่ 3 เมษายน 2540 เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ดำเนินการติดตามตรวจสอบในรูประดับเสียงเฉลี่ย 1 ชั่วโมง (LAeq 1 hour ) ระดับเสียงสูงสุด (Lmax) และระดับเสียงเปอร์เซ็นไทล์ที่ 90 (L90) จากนั้นนำค่า LAeq 1 hour ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างต่อเนื่องมาคำนวณหาค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง (LAeq 24 hours) และระดับเสียงเฉลี่ยกลางวันกลางคืน (Ldn ) ในหน่วยเดซิเบลเอ; dB(A)
การตรวจวัดได้ใช้มาตรระดับเสียงชนิด Integrated Sound Level Metre ยี่ห้อ Rion NL-21 ซึ่งผลิตโดย Rion Co., Ltd. เป็นมาตรระดับเสียงที่ได้มาตรฐานสากล IEC 60651 หรือ IEC 60804 (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น IEC-61672) มีค่าความเที่ยงตรงสูงและมีค่าความคลาดเคลื่อนของการตรวจวัดอยู่ในช่วง + 0.5 dB(A) มี Wind Screen ติดที่หัว Microphone เพื่อป้องกันและกำบังลมที่เป็นปัจจัยให้เกิดการผิดพลาดขณะติดตามตรวจสอบ โดยติดตั้งมาตรระดับเสียงบนขาตั้งให้ไมโครโฟนอยู่สูงจากพื้น 1.2-1.5 เมตร ภายในรัศมี 3.5 เมตร ตามแนวราบรอบไมโครโฟนไม่มีกำแพงหรือสิงกีดขวางอื่นใดที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงกีดขวางอยู่ ก่อนการตรวจวัดมีการปรับเทียบและตรวจสอบความถูกต้องด้วยเครื่อง Sound Level Calibrator ชนิด Acoustic Calibrator ที่ระดับเสียงมาตรฐาน 94.0 dB ความถี่ 1,000 Hz ที่ศูนย์ถ่วงน้ำหนัก C และปรับไปที่ศูนย์ถ่วงน้ำหนัก A